หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
องค์การบริหารส่วนตำบล ชนแดน ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
ข้อมูลหน่วยงาน
HISTORY
บุคลากร
STAFF
การบริหารบุคคล
PERSONNEL
ข่าวสาร
NEWS
แผน
PLANNING
รายงาน
REPORT
ระเบียบ
RULES
บริการประชาชน
SERVICE
นายประมวน ดวงตา
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลชนแดน
 
   
     
ข่าวสาร
 
 
 


 
ประชาสัมพันธ์ โรคท้องร่วง  
 

โรคท้องร่วง (Diarrhea) คือ ภาวะที่มีการถ่ายอุจจาระเหลวเกิน 3 ครั้งขึ้นไป หรือถ่ายเหลวเป็นน้ำบ่อยเกิน 1 ครั้ง หรือถ่ายแล้วมีมูกเลือดปน 1 ครั้งต่อวัน ซึ่งอาการดังกล่าวพบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย

ท้องร่วงเกิดจากอะไร?

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องร่วงนั้นเกิดได้จากหลายปัจจัย โดยปัจจัยที่พบได้บ่อย ได้แก่

การติดเชื้อแบคทีเรียจากการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาดตามสุขอนามัย หรืออาหารที่ไม่ปรุงสุก
การติดเชื้อไวรัสและมีพยาธิในลำไส้
การไม่ล้างมือให้สะอาดก่อนทำการปรุงหรือรับประทานอาหาร
การใช้ภาชนะที่มีเชื้อโรคหรือสารปนเปื้อน
ลำไส้มีการอักเสบ

อาการของโรคท้องร่วง

ถ่ายบ่อย (มากกว่า 3 ครั้งต่อวัน)
แน่นท้อง ปวดท้อง ท้องอืด
คลื่นไส้ อาเจียน
บางรายอาจมีไข้
บางรายที่ถ่ายอุจจาระบ่อยๆ จะทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำมาก อาจรู้สึกหน้ามืดเป็นลม หรือช็อกหมดสติ

ดูแลตนเองอย่างไรเมื่อท้องร่วง

การรักษาและข้อควรปฏิบัติเมื่อท้องร่วง – โดยปกติแล้วผู้ที่มีอาการท้องร่วงจะสามารถหายได้เองและส่วนใหญ่จะมีอาการที่ไม่รุนแรง โดยพบว่าผู้ป่วยส่วนน้อยที่มีอาการรุนแรงจนเป็นอันตรายถึงขึ้นเสียชีวิตได้ สำหรับผู้ที่มีอาการท้องร่วงสามารถดูแลตัวเองในเบื้องต้นได้ดังนี้

ดื่มน้ำเกลือแร่ (ORS) บ่อยๆ เพื่อทดแทนการสูญเสียน้ำและเกลือแร่
รับประทานอาหารอ่อนๆ ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก แกงจืด
งดอาหารรสจัด เช่น เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ของหมักดองต่างๆ
หลีกเลี่ยงอาหารสุกๆ ดิบๆ เน้นการรับประทานอาหารที่ปรุงสุก ถูกสุขลักษณะ
ล้างมือให้สะอาดเป็นประจำก่อนรับประทานอาหาร
หากสงสัยว่ามีอาจติดเชื้อ ควรรีบพบแพทย์ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง

เมื่อไรที่ควรไปพบแพทย์

หากมีอาการท้องร่วงนานเกิน 3 วัน มีไข้สูงมากกว่า 38.5 องศาเซลเซียส มีอาการขาดน้ำ ถ่ายมีเลือดปนร่วมกับอาการปวดท้องเกร็ง ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง โดยแพทย์จะทำการตรวจเบื้องต้น เช่น ตรวจอุจจาระเพื่อหาเชื้อ, ตรวจเลือดเพื่อหาสาเหตุ, การส่องกล้องเพื่อตรวจลำไส้ใหญ่

 

ข่าว ณ. วันที่ 11 มี.ค. 2565 เวลา 13.39 น. โดย คุณ วนิชชากร ทองเสี่ยน

ผู้เข้าชม 173 ท่าน

 
 
 
 
 
 
รับเรื่องร้องเรียน
0-5676-1551

นโยบายเว็บไซต์ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์ | นโยบายคุกกี้ | แผนผังเว็บไซต์
Version ขั้นต่ำของ Browser นี้รองรับ IE9/firefox3.5/Chrome/safari4/Opera10